ผลมังคุด ทำให้คุณภาพดีขึ้นได้ถ้ารู้สาเหตุของการเกิดเนื้อแก้ว ยางไหล

โดย ศ.ดร. สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ และ รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม

 

นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้ค้นคว้าหาสาเหตุของการเกิดอาการเนื้อแก้ว/ยางไหลในผลมังคุด ได้ผลสรุปเบื้องต้นว่า เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของผนังเซลล์ของส่วนเนื้อและท่อน้ำยางในผลมังคุด ระหว่างการสร้างผนังเซลล์อย่างต่อเนื่องตลอดช่วง พัฒนาการของผลนาน 12-14 สัปดาห์ ผลมังคุดต้องอาศัยกระแสการคายน้ำในการพาเข้าธาตุแคลเซียมและโบรอน ที่เป็นสารเชื่อม ระหว่างเส้นโพลีเมอร์น้ำตาลของเพคตินในผนังเซลล์และทำให้เส้นโพลีเมอร์น้ำตาลเลื่อนผ่านกันได้ เป็นผลให้ผนังเซลล์มีความยืดหยุ่น เมื่อรับแรงดันของน้ำในเซลล์ หากสภาพอากาศมีความแห้งมากจนชักนำให้ปากใบปิดแคบลงจนอัตราคายน้ำของใบและของผลลดต่ำลง ซึ่งทำให้ผลได้รับแคลเซียมและโบรอนลดลงด้วย จึงเกิดจุดอ่อนที่ยืดหยุ่นต่ำในชั้นผนังเซลล์ที่สร้างในช่วงนั้น

อ่านเรื่องเต็ม (3.4 MB)

Already downloaded  times (นับจากวันที่(นับจากวันที่ 7 พ.ย. 53)

 


สนับสนุนงบวิจัยโดยศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

 

 

Top quality mangosteen is possible

The whole shipment of mangosteen (Garcinia mangostana) can be rejected when the gamboge disorder exceeds 20 percent. The top extra class for export is set at less than 5% gamboge fruit. The problem with the oozing of yellow resin inside the fruit is with the growers since the beginning, and many invested efforts and resources failed to find the cause. The distasteful yellow resin occurs along with the appearance of translucent flesh of the largest segment.

The culprit is being revealed when a collaborative research is carried out at the request of the growers by two teams of scientists from Kasetsart University and King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang under the support of the Center of Excellence on Agricultural Biotechnology, Science and Technology Postgraduate Education and Research Development Office, Ministry of Education. The complexity of the problem centers on the imbalance rates between supply and demand of calcium and boron for the fruit.

Read Full Text (5.3 MB)

Already downloaded  times (from 7 Nov 2010)

 

 

 

Principle investigators: Suntaree Yingjajaval and Sumitra Poovarodom