ผู้แต่ง | : พรชัย ไพบูลย์, พรรณี ชื่นนคร และ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ |
จำนวนหน้า | : 97 หน้า |
ปีที่พิมพ์ | : 2564 |
ISBN | : |
Format | : PDF file |
ในช่วงปี 2547-2551 เกษตรกรมีความสนใจที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในแปลงยกร่องของสวนส้มร้างเดิม โดยเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีระบบชลประทานทั่วถึง มีน้ำมากพอตลอดทั้งปี เกษตรกรหลายรายได้ทดลองปลูกปาล์มน้ำมันนำร่องไปก่อนแล้ว แต่ไม่มั่นใจว่า การปลูกปาล์มน้ำมันในเขตทุ่งรังสิต ซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมันเชิงการค้าภายในเส้นรุ้ง ±10° จากเส้นศูนย์สูตร (Sime Darby, 2009) และดินที่มีสภาพเป็นกรดจัด จะให้ผลผลิตทะลายที่คุ้มค่าหรือไม่ เพราะไม่ปรากฎข้อมูลพื้นฐานทางสรีรวิทยาของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในเขตพื้นที่นี้ที่จะยืนยันว่าต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถเติบโตให้ผลผลิตที่ดี มีเพียงองค์ความรู้ในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตภาคใต้และของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และระบบการปลูกปาล์มน้ำมันที่แตกต่างจากพื้นที่ทุ่งรังสิตโดยสิ้นเชิง
ผู้แต่ง | : ดวงสมร จิระชีวะนันท์ และ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ |
จำนวนหน้า | : 109 หน้า |
ปีที่พิมพ์ | : 2563 |
ISBN | : |
Format | : PDF file |
การศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านสรีรวิทยาของอ้อยพันธุ์ K95-84 เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สของใบ พัฒนาการของสารละลายน้ำคั้นของลำต้นเพื่อความเข้าใจพัฒนาการสะสมน้ำตาลในต้นอ้อย โดยจัดเก็บข้อมูลดังนี้
โปสเตอร์ "การปลูกข้าวแบบทันสมัย" ที่ รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม, ดร. พรชัย ไพบูลย์ และ ดร. พรรณี ชื่นนคร อาจารย์และนักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำไปเผยแพร่องค์ความรู้ ในงาน "ส่งมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก" ที่บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด ได้จัดร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดบูรพากู่น้อย ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
แผ่นพับ "คิดใหม่ ทำใหม่ สูตรและอัตราปุ๋ยข้าว" ที่ รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม, ดร. พรชัย ไพบูลย์ และ ดร. พรรณี ชื่นนคร อาจารย์และนักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำไปเผยแพร่องค์ความรู้ ในงาน "ส่งมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก" ที่บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด ได้จัดร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดบูรพากู่น้อย ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ศรีสังวาลย์ ลายวิเศษกุล1,2,3* และ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์1,2
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2562 หน้า 184-196
ชุดวีดีทัศน์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันทั้ง 6 ตอนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย
"การประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต/คุณภาพมังคุดในเขตภาคใต้"
โปรแกรมบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (AG-BIO) ปี 2561
ตอนที่ 1 : ถาม-ตอบ เรื่องการจัดการธาตุอาหารพืชและการใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมัน
โดย รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ศ.ดร. สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวฟิสิกส์ของพืช และ รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญด้านธาตุอาหารพืชในไม้ผล นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้จัดทำวีดิทัศน์ "มังคุดน่ารู้" เพื่อเป็นสื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมังคุด รวมถึงนักวิจัยและ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐฯ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการจัดการสวนที่เป็นปัจจุบัน ถูกต้องตามหลักวิชาการ ได้ง่ายในวงกว้าง สามารถติดตามวีดีทัศน์ซ้ำๆ จนเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และนำไปปรับใช้ในสภาพพื้นที่ผลิตจริง จนสามารถยกระดับปริมาณและคุณภาพผลผลิตมังคุด เกรดส่งออกทั่วประเทศให้สูงขึ้น
วีดีทัศน์ "มังคุดน่ารู้" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย การประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต/คุณภาพมังคุดในเขตพื้นที่ภาคใต้ โปรแกรมบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (AG-BIO) ปี 2561
ท่านสามารถติดตามชมวีดีทัศน์ที่มีเนื้อหาเข้มข้นเพิ่มเติมได้ทาง
ผู้แต่ง | : พรชัย ไพบูลย์, พรรณี ชื่นนคร และสุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ |
จำนวนหน้า | : 80 หน้า |
ปีที่พิมพ์ | : 2560 |
ISBN | : |
Format | : PDF file |
บริษัท SCG Packaging มีแนวคิดที่จะนำผลิตภัณฑ์กระดาษมาใช้เป็นวัสดุคลุมแปลงปลูกสตรอเบอร์รี่ ทดแทนวัสดุคลุมแปลงเดิมคือ ใบตองตึงที่มีปริมาณจำกัดและราคาแพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง จึงเกิดคำถามขึ้นว่า การคลุมแปลงด้วยกระดาษ SCG มีผลต่อสภาพแปลงสตรอเบอร์รี่อย่างไร
บริษัทฯ ได้ขอใช้บริการของศูนย์ฯ คณะนักวิจัยจึงได้วัดและเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ของดิน ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นตลอดหน้าตัดดินเขตรากพืช รวมถึงสภาพอากาศของแปลงปลูกและที่ระดับทรงพุ่ม และติดตามถ่ายภาพพัฒนาการของระบบรากของต้นสตรอเบอร์รี่ที่ปลูกในแปลงที่ใช้วัสดุคลุม 3 ชนิด คือ 1. กระดาษ #1 ของบริษัท SCG Packaging 2. ผ้าพลาสติกสีดำ และ 3. ใบของต้นตองตึง ตลอดฤดูปลูก 5 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2559-มีนาคม 2560 ณ สถานีวิจัยดอยปุย จ.เชียงใหม่
พรรณี ชื่นนคร1,2 และ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์1,2*
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 48 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2560 หน้า 430-441
30 ปี ความร่วมมือ ซีพีไอ และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
พัฒนาองค์ความรู้เรื่องปาล์ม สู่เกษตรกร
โดย บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด
7 มีนาคม 2561
ที่มา: ต้นไม้และสวน & ยางปาล์มออนไลน์
ชุดวีดีทัศน์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการวิจัย
"การประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต/คุณภาพมังคุดในเขตภาคใต้"
โปรแกรมบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (AG-BIO) ปี 2560-62
โดย ศ.ดร. สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ปี 62 ตอนที่ 1 : แสงกับการใช้ปุ๋ยของพืช
วันที่ 25 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่าศาลา อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช
ชุดวีดีทัศน์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการวิจัย
"การประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต/คุณภาพมังคุดในเขตภาคใต้"
โปรแกรมบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (AG-BIO) ปี 2560-62
โดย รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ปี 62 ตอนที่ 1 : ทุเรียน มังคุด ใช้ปุ๋ยสูตรอะไรดี? ต้องใส่ 8-24-24 ไหม? และตอบคำถามเกษตรกร
วันที่ 25 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
งานวิจัยภาคสนามของห้องปฏิบัติการชีวฟิสิกส์ของพืช ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เน้นศึกษาการไหลของน้ำในระบบต่อเนื่องจากดิน เข้าสู่พืช ออกสู่อากาศ (Soil-Plant-Atmospheric Continuum, SPAC) โดยวัดค่าสภาวะของน้ำในดิน (soil water potential, soil volumetric water content) อุณหภูมิดิน อุณหภูมิใบ/ผิววัสดุ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อากาศ และความเข้มแสงในช่วงความยาวคลื่นที่พืชใช้งานระหว่าง 400-700 nm (photosynthetic photon flux, PPF, วัดได้จากหัววัดแสงแบบ quantum) การวัดค่าต่างๆ เหล่านี้เพื่อใช้ในงานวิจัย จำเป็นต้องเลือกใช้หัววัดให้ถูกประเภท ตรงตามวัตถุประสงค์ มีความแม่นยำ (precision) เที่ยงตรง (accuracy) ให้ค่าเสถียร (reproducible) และสามารถใช้อ้างอิงหรือเทียบเคียงกับงานวิจัยอื่นที่ตีพิมพ์ในระดับสากลได้ ดังนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา คณะวิจัยจึงเลือกใช้สถานีอากาศ หัววัด และเครื่องบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ (datalogger) ที่จำหน่ายโดยบริษัท LI-COR และ Spectrum Technologies ของประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของทั้งสองบริษัทฯ มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับเพื่อใช้ในงานวิจัยและการเกษตรในระดับสากล มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้องตามหลักวัสดุศาสตร์ ทำให้วัดค่าได้อย่างแม่นยำ เสถียร คงทน (ใช้งานต่อเนื่องได้ 1-2 ปี) ติดตั้งและใช้งานในภาคสนามได้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถบันทึกข้อมูลที่ต้องการได้อัตโนมัติทุก 15 นาทีตลอดทั้งปี และคุ้มค่าการลงทุน
© 2022 Plant Biophysics