ผลงานเด่น: การศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาของต้นยูคาลิปตัสภายใต้สภาวะขาดน้ำจากการชักนำด้วยพอลิเอทิลีนไกลคอล

วินัย อุดขาว1,2 และสุนทรี ยิ่งชัชวาลย์1,2
ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO Newsletter) ปีที่ 8 ฉนับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2559) หน้า 8-12

 

การศึกษาเรื่องการตอบสนองทางสรีรวิทยาของต้นพืชภายใต้สภาวะขาดน้ำอย่างเป็นระบบยังมีอยู่น้อยในประเทศไทย เนื่องจากกลไกการตอบสนองมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงหลายกระบวนการในต้นพืชพร้อมกัน ที่สำคัญคือพืชมีการปรับตัวได้ สภาวะขาดน้ำจึงมีปัจจัยเรื่องระยะเวลาและระดับความรุนแรงของสภาวะขาดน้ำมาเกี่ยวข้องด้วย

การศึกษาเรื่องการขาดน้ำของพืชจึงต้องมีการระบุชัดเจนถึงสภาวะขาดน้ำที่พืชเผชิญว่า เป็นสภาพขาดน้ำของระบบราก และ/หรือของสภาพอากาศแห้งด้านบน นานและรุนแรงเพียงใด มิฉะนั้น จะไม่สามารถอธิบายเปรียบเทียบการตอบสนองของพืชได้

หากการศึกษามีขอบเขตที่ชัดเจน พารามิเตอร์ทางสรีรวิทยาที่ได้ สามารถใช้เป็นฐานสำหรับคัดเลือกสายพันธุ์พืชทนแล้ง และใช้อธิบายเชื่อมโยงกลไกการทำงาน และการแสดงออกของยีนที่ควบคุมลักษณะทนแล้ง เพื่อประยุกต์ใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์พืช



อ่านเรื่องเต็ม (2.2MB)
Already downloaded  times (นับจากวันที่ 19 พ.ค. 60)


1 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140
Center for Agricultural Biotechnology, Kasetsart University, Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 73140, Thailand

2 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรุงเทพฯ 10900
Center of Excellence on Agricultural Biotechnology (AG-BIO)/PERDO-CHE, Bangkok 10900, Thailand